วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 12 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


เริ่มกิจกรรมคือ...




ไม่บอกว่ากิจกรรมอะไร ??  ถ้ารู้แล้ว อึ้ง !!! ..... ( รู้กัน )

ความรู้ที่ได้รับ ...
     การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
- การวัดความสามารถทางภาษา เข้าใจสิ่งผู้อื่นพูดไหม , ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม , ถามหาสิ่งต่างๆไหม , บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม ,  ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
- การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด  การพูดตกหล่น , การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง , ติดอ่าง
- การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ ไม่สนใจการพูดซำ้หรือการออกเสียงไม่ชัด , ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด" , อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด , อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก , ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น , เด็กที่ไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
- ทักษะพื้นฐาน  การรับรู้ภาษา , การแสดงออกทางภาษา , การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย  ให้เวลาเด็กได้พูด , คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) , เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) , กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)

กิจกรรมสุดท้าย ให้นักศึกษาจับคู่ มีกระดาษและสี ให้วาดแต่เส้นตรงยังไงก็ได้โดยห้ามยกมือจนว่าเพลงจะจบ


การนำไปใช้ ...
     เราสามารถนำเนื้อหาที่เรียนในวันนี้นำไปปรับปรุงใช้กับเด็กปฐมวัยได้ 

การประเมิน...
  • ตนเอง     เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน/ทำงาน
  • เพื่อน       ตั้งใจเรียน ช่วยกันโต้ตอบอาจารย์ที่มีคำถามและตอบ
  • อาจารย์    มีกิจกรรมให้เล่นก่อนเรียนเพื่อกระตุ้นนักศึกษา



วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 5 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ...
  • อาจารย์ให้ทำกิจกกรรมก่อนเรียน คือ มีถุงมือ ให้นักศึกษาใส่ข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดรูปมือที่อยู่ในถุงมือให้เก็บรายละเอียดได้มากที่สุด 



  • และเรียนเรื่อง...การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศน์คติ
- การฝึกเพิ่มเติม อบรมระยะสั้น , สัมมนา และสื่อต่างๆ
- การเข้าใจภาวะปกติ ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ , รู้จักเด็กแต่ละคน , มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
- การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
- ความพร้อมของเด็ก วุฒิภาวะ , แรงจูงใจ , โอกาส
- การสอนโดยบังเอิญ ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม ,ครูต้องสนใจเด็ก , ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- อุปกรณ์ มีลักษณะง่ายๆ , ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- ตารางประจำวัน เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ , กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอน , เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

ทัศนคติของครู
- ความยืดหยุ่น การแก้แผนสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ , ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
วิธีการแสดงออก ตอบสนองด้วยวาจา , การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก , พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง , สัมผัวกาย , ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 

การนำไปใช้...
    สามารถนำเนื้อหามาปรับใช้ในการสอนหรือการสังเกตเด็กปฐมวัยได้ 


การประเมิน...
  • ตนเอง       เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
  • เพื่อน          ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบกับอาจารย์
  • อาจารย์      มีการยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , February 26 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.



ช่วง สอบกลางภาค 

อ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนนำไปสอบกลางภาค