วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Monday , April  27  , 2558

   สำหรับวันนี้...เป็นคาบสุดท้ายก่อนสอบปลายภาค วันนี้สอบร้องเพลงสำหรับปฐมวัย โดยการจับฉลากเพลงของตัวเอง ทุกคนตื่นเต้นสำหรับการร้องเพลงมาก เพราะอยากได้เพลงที่ตัวเองร้องได้

สำหรับของดิฉันที่จับได้ คือ ...    เพลง นกกระจิบ 
                                                 นั่นนก บินมาลิบลิบ
                                                  นกกระจิก 1 2 3 4 5
                                      อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว 




** ขอบคุณอาจารย์ที่คอยอบรมสั่งสอน ให้เราเป็นครูที่ดีในอนาคต **


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , April 23  , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ 

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Indivdualized  Education  Progam ) = IEP

- แผน IEP  แผนการศึกษาที่ร่างขั้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- การเขียนแผน IEP คัดแยกเด็กพิเศษ , ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- IEP ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก , ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง , การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน , เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น , ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนสิ้นสุดของแผน , วิธีการประเมินผล
- ประโยชน์ต่อเด็ก ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน , ได้มีโอกาสตามศักยภาพของตน
- ประโยชน์ต่อครู  เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง  ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนการสอนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล รายงานทางการแพทย์ , รายงานการประเมินด้านต่างๆ , บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน ประชุมที่เกี่ยงข้อง , กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- จุดมุ่งหมายระยะยาว กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
- จุดมุ่งหมายระยะสั้น   ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดหมายหลัก , เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์  มี 4 หลักๆ จะสอนใคร , พฤติกรรมอะไร , เมื่อไร ที่ไหน , ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้ระยะสั้น , ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ
4. การประเมินผล ประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น , ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล , การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

       อาจารย์มีตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ศึกษาดูและให้นักศึกษาลองเขียนแผนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน

การนำไปใช้ 
     การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นประโชยน์ต่อนักศึกษา เพราะสามารถนำไปใช้ได้จริงเนื่องจากอาจได้เจอเด็กพิเศษในโรงเรียนจริงๆ

การประเมิน

  • ตนเอง       เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
  • เพื่อน        ตั้งใจเรียน ช่วยกันแสดงความคิดทั้งเรียนและการทำงานกลุ่ม ร่วมมือกัน ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน
  • อาจารย์   มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจ ทั้งยกตัวอย่างและเล่าประสบการณ์ที่ได้เจอมาด้วยตนเอง

บรรยายในห้องเรียน 


การทำงานของกลุ่มเรา 


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , April  9 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ 
        ดีใจ ... อาจารย์แจกสีคนละ 1 กล่อง Hppy ค่ะ !!!  ^^

ต่อด้วยเฉลยข้อสอบ 5 ข้อ ( 10 คะแนน ) 

เรียนต่อคะ ... การส่งเสริอมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ( ทักษะพื้นฐานทางการเรียน )
เป้าหมาย  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ , ให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
ช่วงความสนใจ จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ พ่อแม่ , ครู , เพื่อนหรือรุ่นพี่
การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดหรือไม่ , เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ , คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่ 
การรับรู้ การเคลื่อนไหว ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น = ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก การกรอกนำ้ ตวงนำ้ , ต่อบล็อก , ศิลปะ , มุมบ้าน , ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ ลุกปัดไม้ขนาดใหญ่ , รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ จากการสนทนา , เมื่อเช้าหนูทานอะไร , แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง , จำตัวละครในนิทาน , จำชื่อครู เพื่อน 
ทักษะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะใกล้เคียงกัน
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชการ จัดกลุ่มเด็ก , ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง , ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย , พูดในทางที่ดี , ทำบทเรียนให้สนุก

การนำไปใช้
   การเรียนการสอนในเนื้อหาวันนี้สามารถนำไปใช้สอนเด็กในพัฒนาการทักษะต่างๆ ของเด็กปฐมวัยจริง 

ประเมิน
  • ตนเอง    เข้าเรียนต่อเวลา มีความสนใจในการเรียนวิชานี้ พูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์
  • เพื่อน     ตั้งใจเรียนทุกคน  ช่วยกันแสดงความคิดเห็นพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์ สนุก หัวเราะ 
  • อาจารย์  สอนสนุก มีการพูดคุย โต้ตอบ มีการยกตัวอย่าง 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 26 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


อาจารย์พูดถึงการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 

ต่อ
ต่อ

ได้ทำข้อสอบเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด จำนวน 5 ข้อ 




บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 19 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.

ความรู้ที่ได้รับ
    การเรียนการสอนวันนี้ เรียนการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ( ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ) 

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องนำ้
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง , อยากทำงานตามความสามารถ , เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ  การได้ทำด้วยตนเอง , เชื่อมั่นในตนเอง , เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง ไม่ช่วยเหลือเกินความจะเป็น (ใจแข็ง ) , "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
จะช่วยเมื่อไหร่ เด็กมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ , เรียงลำดับตามขั้นตอน
การวางแผนทีละขั้น แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง , ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ , ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จ , ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง , เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

 //_ สุดท้ายอาจารย์มีกิจกรรมสำหรับบำบัดเด็กพิเศษ
อุปกรณ์ สีเทียน กระดาษ กรรไกร
วิธีทำ วาดวงกลมตามสีที่ชอบจนกว่าจะพอใจว่าสวยแล้ว ตัดวงกลม





การนำไปใช้
     การเรียนการสอนวันนี้เราสามารถนำเอาไปปรับปรุงใช้กับการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษได้ เพราะจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กและยังช่วยบำบัดเด็กได้ดี

ประเมิน
  • ตนเอง    แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
  • เพื่อน     เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนค่ะ เพราะอากาศในห้องร้อนมาก 
  • อาจารย์   มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษากระตืนรือร้นในการเรียน


วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 12 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


เริ่มกิจกรรมคือ...




ไม่บอกว่ากิจกรรมอะไร ??  ถ้ารู้แล้ว อึ้ง !!! ..... ( รู้กัน )

ความรู้ที่ได้รับ ...
     การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
- การวัดความสามารถทางภาษา เข้าใจสิ่งผู้อื่นพูดไหม , ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม , ถามหาสิ่งต่างๆไหม , บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม ,  ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
- การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด  การพูดตกหล่น , การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง , ติดอ่าง
- การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ ไม่สนใจการพูดซำ้หรือการออกเสียงไม่ชัด , ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด" , อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด , อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก , ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น , เด็กที่ไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
- ทักษะพื้นฐาน  การรับรู้ภาษา , การแสดงออกทางภาษา , การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย  ให้เวลาเด็กได้พูด , คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) , เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) , กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)

กิจกรรมสุดท้าย ให้นักศึกษาจับคู่ มีกระดาษและสี ให้วาดแต่เส้นตรงยังไงก็ได้โดยห้ามยกมือจนว่าเพลงจะจบ


การนำไปใช้ ...
     เราสามารถนำเนื้อหาที่เรียนในวันนี้นำไปปรับปรุงใช้กับเด็กปฐมวัยได้ 

การประเมิน...
  • ตนเอง     เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน/ทำงาน
  • เพื่อน       ตั้งใจเรียน ช่วยกันโต้ตอบอาจารย์ที่มีคำถามและตอบ
  • อาจารย์    มีกิจกรรมให้เล่นก่อนเรียนเพื่อกระตุ้นนักศึกษา



วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกหลังการเรียนการสอน


การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตร  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หน่วยกิต 3 ( 2-2-5 )
ภาคเรียนการศึกษาที่  2 / 2557

Thuday , March 5 , 2558

Time 13.10 To 16.40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ...
  • อาจารย์ให้ทำกิจกกรรมก่อนเรียน คือ มีถุงมือ ให้นักศึกษาใส่ข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดรูปมือที่อยู่ในถุงมือให้เก็บรายละเอียดได้มากที่สุด 



  • และเรียนเรื่อง...การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศน์คติ
- การฝึกเพิ่มเติม อบรมระยะสั้น , สัมมนา และสื่อต่างๆ
- การเข้าใจภาวะปกติ ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ , รู้จักเด็กแต่ละคน , มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
- การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
- ความพร้อมของเด็ก วุฒิภาวะ , แรงจูงใจ , โอกาส
- การสอนโดยบังเอิญ ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม ,ครูต้องสนใจเด็ก , ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- อุปกรณ์ มีลักษณะง่ายๆ , ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- ตารางประจำวัน เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ , กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอน , เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

ทัศนคติของครู
- ความยืดหยุ่น การแก้แผนสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ , ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
วิธีการแสดงออก ตอบสนองด้วยวาจา , การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก , พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง , สัมผัวกาย , ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 

การนำไปใช้...
    สามารถนำเนื้อหามาปรับใช้ในการสอนหรือการสังเกตเด็กปฐมวัยได้ 


การประเมิน...
  • ตนเอง       เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
  • เพื่อน          ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบกับอาจารย์
  • อาจารย์      มีการยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น